บทความ

ผนัง

ฉนวนกันความร้อน มีกี่แบบ

ฉนวนกันความร้อน คือ วัสดุที่ต้านทานหรือป้องกันไม่ให้พลังงานความร้อน ส่งผ่านจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งได้สะดวก ฉนวนกันความร้อนที่ดีจะต้องมีน้ำหนักเบา ฉนวนกันความร้อนแต่ละชนิดจะมีการต้านทานความร้อนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งฉนวนกันความร้อนที่ดีจะต้องต้านทานความร้อนที่ผ่านจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งให้ลดลงเหลือน้อยที่สุด

พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์จะส่งผ่านความร้อนโดยตรงมาที่ "หลังคา" ซึ่งส่วนนี้จะได้รับความร้อนมากที่สุดของตัวอาคาร รองลงมาคือส่วนที่เป็น "ผนัง" ซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่ควรได้รับการปกป้อง การเพิ่มค่ากันความร้อนให้กับหลังคาและผนังกันความร้อนได้มากขึ้น จะส่งผลให้ความร้อนผ่านเข้ามาในตัวอาคารได้น้อยลง

ภาพ : อาคารอุตสาหกรรมที่ใช้ฉนวนกันความร้อน Sandwich Panel

ฉนวนกันความร้อนที่ดี สามารถกล่าวได้คร่าวๆดังนี้

1. ฉนวนกันความร้อนต้องมีค่าการนำความร้อน (K value) ต่ำ

   - ค่าการนำความร้อน หมายถึง ฉนวนชนิดนั้นๆ ยอมให้ความร้อนผ่านตัววัสดุได้ง่ายแค่ไหน 
   - มีหน่วยวัดเป็น W/mK 
   - หากวัสดุมีคุณสมบัติความเป็นฉนวนดี จะมีค่าการนำความร้อนต่ำ ยิ่งสามารถใช้ความหนาของฉนวนที่บางลงได้ ค่าการนำความร้อนเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัววัสดุไม่ขึ้นกับความหนา

2. ฉนวนกันความร้อนต้องมีค่าการต้านทานความร้อน (R value) สูง 

    - ค่าการต้านทานความร้อน หมายถึง ความสามารถของวัสดุที่จะยับยั้งการไหลหรือถ่ายเทความร้อน 
    - มีหน่วยวัดเป็น m2K/W 
    - ค่าการต้านทานความร้อนยิ่งสูง ความเป็นฉนวนยิ่งดี 
    - คำนวณเป็นส่วนกลับของค่าการนำความร้อนขึ้นอยู่กับความหนาของวัสดุด้วย แต่ละความหนาก็จะมีค่าการนำความร้อนที่แตกต่างกันไป ดังนั้นหากต้องการเปรียบเทียบค่าการต้านทานความร้อนของวัสดุหลายๆ ชนิด อย่าลืมเทียบที่ความหนาเท่าๆ กัน

 

ฉนวนกันความร้อนมีกี่ชนิด

ประเภทของฉนวนกันความร้อน ที่ทางวอลล์เทคให้บริการ มี 3 ชนิด คือ

·     ฉนวนกันความร้อน กันไฟ พอลิไอโซไซยานูเรต (Polyisocyanurate Foam, PIR Foam)

      PIR ย่อมาจาก “พอลิไอโซไซยานูเรต” เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พีไออาร์ หรือ พอลิไอโซ เป็นการพัฒนาฉนวนกันความร้อนโดยนำสารไอโซไซยานูเรตผสมกับพอลิยูริเทนโฟม " โดยฉนวนกันความร้อน กันไฟ FIWall i370 PIR แท้ๆ by Wall Tech จะมีคุณสมบัติ กันความร้อน กันไฟ ไร้ควัน"

·     ฉนวนกันไฟ ร็อควูล (Rockwool)

      ฉนวนกันความร้อน ดูดซับเสียง และกันไฟไม่ติดไฟ (Non Combustible) จุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ ไม่มีสารตะกั่วที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและผู้อยู่อาศัย ใช้สำหรับอาคาร สำนักงานหรืออุตสาหกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย

·         ฉนวนกันความร้อน พอลิสไตรีนโฟม (Polystyrene Foam, PS Foam) 

      ฉนวนกันความร้อนที่มีโครงสร้างวัสดุเป็นเซลล์ปิด น้ำหนักเบามาก มีคุณสมบัติที่ป้องกันการกระแทกได้เป็นอย่างดี ไม่ดูดซับความชื้น ที่นิยมนำมาผลิตเป็นแผ่นฉนวนกันความร้อนสำหรับผนังห้องเย็น คือ expandable polystylene หรือ eps

เนื่องจากเราใช้พอลิไอโซไซยานูเรต ที่มี Index มากกว่า 350 ทำให้แผ่นฉนวนของเราไม่เพียงมีค่าความเป็นฉนวนสูงเท่านั้น แต่ยังกันไฟได้อย่างดี และมีควันน้อย แตกต่างจากแผ่นฉนวนแบบ PS (Polystyrene Foam) และ PU (Polyurethane Foam) ซึ่งเก็บความเย็นได้แย่กว่า อายุการใช้งานน้อยกว่า แถมยังมีความเสี่ยงเรื่องไฟไหม้ เมื่อเกิดอัคคีภัยจะมีควันเยอะมาก และคนมักจะเสียชีวิตเพราะควันไฟมากกว่า

ทางยุโรป เลิกใช้ PS (Polystyrene Foam) และ PU (Polyurethane Foam) ไปเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากมีความเสี่ยงจะเกิดอัคคีภัย โรงงานเขาใช้ PIR แท้ๆ กันหมดแล้วเพราะนอกจากจะช่วยประหยัดพลังงาน ยังคุ้มมากยิ่งขึ้นไปอีกในมิติความปลอดภัยและความเสี่ยงไฟไหม้ แต่ในเมืองไทยยังไม่นิยม เพราะติดภาพว่าต้องนำเข้า และมีราคาแพง

แต่ตอนนี้ วอลล์เทคได้นำเข้าเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศเยอรมนีมาผลิตแผ่นฉนวนคุณภาพสูง PIR FIWall i370 ของเรา จึงเป็นแผ่นฉนวนเจ้าแรกเจ้าเดียวในตลาดที่เป็น PIR แท้ๆ กันไฟได้ มีควันน้อย ดูดซับน้ำต่ำทำให้ยืดอายุการใช้งานของแผ่นผนังประหยัดพลังงานไฟฟ้า และยังมีราคาถูกกว่า PIR นำเข้าถึง 40%

 

Sandwich Panel
Wall Tech แผ่นฉนวนสำเร็จรูป กันความร้อน อันดับ 1 สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ห้องเย็น ห้องไลน์ผลิต

 

 

Sandwich Panel คืออะไร 

Sandwich Panel คือ ฉนวนกันความร้อนที่ประกอบด้วยแผ่นเหล็ก 2 ด้าน และไส้ฉนวนตรงกลางประกอบติดกันด้วยการเพิ่มการยึดติด 

โดยทั่วไปแผ่นเหล็กด้านนอกที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและยา คือ แผ่นเหล็กเคลือบสังกะสี หรือ PPGI ที่มีความปลอดภัยต่ออุตสาหกรรมอาหาร (Food Grade) และไส้ฉนวนที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายหลากหลายชนิด เช่น โฟม PIRเส้นใย Rockwool และโฟม EPS 

แผ่นฉนวนสำเร็จรูป Sandwich Panel ใช้งานเป็นแผ่นผนังอาคาร ทั้งภายใน-ภายนอก, บานประตู, ฝ้าเพดาน และหลังคา ช่วยป้องกันความร้อนไม่ให้สามารถผ่านจากผนังภายนอกไปสู่ภายในห้องได้ 

  

แผ่นฉนวนสำเร็จรูป Sandwich Panel คุณค่าที่มากกว่าแผ่นผนังแบบเดิมๆ

คุณค่าที่มากกว่า

  • มีค่าการนำความร้อน (k-Value) ต่ำ
  • มีค่าการต้านทานความร้อนสูง (R-Value) สูง
  • มีค่ากันความร้อนที่ดีกว่าแผ่นผนังทั่วๆ ไป
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้กว่า 30%
  • มีค่าการดูดซับน้ำต่ำ
  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า 10 ปี
  • มีความแข็งแรงสูงและน้ำหนักเบา
  • สามารถรับน้ำหนักและแรงกด (Compressive strength) ได้ดี
  • ประหยัดค่าทำสีและค่าโครงสร้าง
  • สี food grade ปลอดภัย ผ่านมาตรฐาน USDA (United States Department of Agriculture)
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปราศจากสาร CFCs
  • รองรับระบบคุณภาพ GMP (Good Manufacturing Practice) และ 
    HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point)
  • มีอัตรากำลังการผลิตสูง
  • มีความเที่ยงตรงทุกแผ่น
  • คัดสรรวัตถุดิบในการผลิตเกรดพรีเมี่ยมและเก็บรักษาดูแลอย่างดี
    เพื่อให้ได้แผ่นฉนวนสำเร็จรูป Sandwich Panel ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
  • มีการควบคุมคุณภาพของกระบวนการผลิตและมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
    ตามมาตรฐานสากล ISO 9001:2015

 

แผ่นฉนวนสำเร็จรูป Sandwich Panel ประกอบด้วย

·         แผ่นฉนวนกันความร้อน กันไฟ ไร้ควัน PIR FIWall i370

·         แผ่นฉนวนกันไฟ Rockwool WALLROC

·         แผ่นฉนวนกันความร้อน พอลิสไตรีน (EPS Foam)

 

"FIWall i370 PIR แท้ๆ by Wall Tech 
ฉนวนกันความร้อน และ หลังคากันความร้อน Sandwich Panel กันไฟ ไร้ควัน"

 

คุณสมบัติเด่น 

  • ด้วยค่า Index ที่มากกว่า 350 จึงทำให้เป็นฉนวนกันความร้อน PIR แท้ๆ
    ผสานกับระบบ Lock แผ่นฉนวนที่ทรงพลัง ZIP-Lock ที่ถูกออกแบบมาเพื่อการกันไฟโดยเฉพาะ 
    มั่นใจ ปลอดภัย ไร้ควัน
  • กันความร้อนได้ดีเยี่ยม เพิ่มค่าความเป็นฉนวนกันความร้อนให้กับผนัง
    ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ถึง 30%
  • สามารถทนความเย็นได้ต่ำสุดถึง -60°C และ ทนความร้อนได้สูงสุดถึง 100°C
  • ตอบโจทย์การใช้งานได้ครบครันใช้งานเป็น ผนังห้องเย็น ห้องไลน์ผลิต คลังสินค้า และห้องอบ
  • ดูดซับน้ำต่ำ (Water Absorption) จึงช่วยยืดอายุการใช้งานห้องเย็นยาวนานกว่า 10 ปี
  • เพิ่มพื้นที่การใช้งานได้มากกว่า เพราะมีค่าการนำความร้อน (k-Value) ต่ำ และ มีค่าการต้านทานความร้อน(R-Value) สูง จึงสามารถใช้แผ่นฉนวนขนาดบางกว่าที่อุณหภูมิห้องเท่ากัน
  • สะอาด ปลอดภัย รองรับระบบคุณภาพ GMP และ HACCP
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปราศจาก CFCs 
  • ราคาฉนวนกันความร้อน PIR แท้ๆ by Wall Tech ต่ำกว่า ฉนวนกันความร้อน PIR นำเข้าถึง 40% 

และยังมีฉนวนกันความร้อนอีกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหรือเครื่องอุปโภค
ซึ่งเป็นห้องที่ต้องใช้ความร้อนสูงในกระบวนการผลิต ฉนวนกันความร้อนที่ว่านั้น คือ

 

"WALLROC ฉนวนกันไฟ Rockwool (ใยแนวตั้ง) Sandwich Panel
มาตรฐานการกันไฟระดับโลก FM Approvals"

คุณสมบัติเด่น

  • กันไฟได้ดีเยี่ยม การันตีคุณภาพ ผ่านการทดสอบมาตรฐานการกันไฟระดับโลก FM Approvals และผ่านการทดสอบการกันไฟมาตรฐาน BS-476 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ไม่ติดไฟ (Non Combustible) สามารถทนไฟได้นานกว่า 4 ชม. (Intefrity > 4hr)
  • กันความร้อนได้ดี ทำให้ผนังกันความร้อนได้มากขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า
  • ฉนวนกันไฟ Rockwool สามารถทนไฟได้ถึง 1000°C
  • ห้อง Rockwool WALLROC อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20°C และสามารถทนไฟได้สูงสุดถึง 100°C
  • ประสิทธิภาพการดูดซับเสียงที่เหนือกว่า สามารถลดเสียงได้ถึง 27 db (STC)
  • ช่วยลดการสั่นสะเทือนซึ่งเกิดจากเสียงได้สูงสุดในกลุ่มของผลิตภัณฑ์ฉนวนที่ใช้ในงานก่อสร้าง
  • ป้องกันเสียงรบกวนบริเวณรอบๆ เครื่องจักรที่มีเสียงดัง
  • ฉนวนกันไฟ Rockwool ปลอดภัย และไม่ใช่แร่ใยหิน
  • สะอาด ปลอดภัย รองรับระบบคุณภาพ GMP และ HACCP

 

"นอกจากนี้ ฉนวนกันความร้อน พอลิสไตรีน (EPS Foam) Sandwich Panel
เป็นฉนวนที่กันความร้อนได้ดีและนิยมใช้เป็น ผนังห้องเย็น จากอดีตจนถึงปัจจุบัน"

 

 

คุณสมบัติเด่น

  • กันความร้อนได้ดี แต่ไม่สามารถกันไฟได้
  • ฉนวนกันความร้อน พอลิสไตรีน (EPS) ชนิดไม่ลามไฟ (F-Grade)
  • สามารถทนความเย็นได้สูงสุด ถึง -45°C และสามารถทนความร้อนได้สูงสุด ถึง 82°C
  • สะอาด ปลอดภัย รองรับระบบคุณภาพ GMP และ HACCP
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปราศจาก CFCs
  • ราคาถูก

 

ระบบ Lock แผ่นฉนวนที่แข็งแรง ทรงพลัง

·         ระบบ ZIP-Lock ถูกออกแบบมาเพื่อการกันไฟโดยเฉพาะ

 

·         ระบบ Z-Lock แข็งแรง ช่วยรักษาอุณหภูมิ

รายละเอียด แผ่นฉนวนสำเร็จรูป Sandwich Panel

ขนาดแผ่นฉนวน (Dimension) 
ความกว้าง (Width) : 1,200 มม.

ความยาว (Length) : ตามความต้องการของลูกค้า
ความหนา (Thickness) : 2 – 10 นิ้ว
พื้นผิว (Surface) : มีทั้งแบบเรียบและแบบลอน

"คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของท่านแล้วล่ะค่ะ ว่าจะเปลี่ยนมาใช้ แผ่นฉนวนสำเร็จรูป กันความร้อน
Sandwich Panel
เพื่อการลงทุนที่คุ้มค่าและยั่งยืน หรือจะใช้ แผ่นผนังสำเร็จรูป แบบเดิมๆ ต่อไป"

ปรึกษา-สอบถามเรื่อง แผ่นฉนวนสำเร็จรูป Sandwich Panel หรือ ราคาฉนวนกันความร้อน งานติดตั้ง ติดต่อได้ที่นี่

 

โครงสร้างหลัก

Hot-Dip Galvanized คือ อะไร?

Hot-Dip Galvanized ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการปกป้องผิวเหล็กจากสนิม

ชุบฮอตดิบกัลวาไนซ์ (Hot-Dip Galvanized) คืออะไร

  • การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน
  • มีความหนาประมาณ 65 – 300 ไมครอน
  • ปกป้องผิวเหล็กจากการเกิดสนิม
  • เกิดการสลายตัวของพื้นผิวปีละ 1 ไมครอนเท่านั้น
  • มีอายุการใช้งานเกิน 20 ปี
  • เหมาะสำหรับอาคารที่ต้องอยู่กลางแจ้งซึ่งจะต้องเผชิญลม ความร้อนจากแสงแดดหรือสารเคมีต่างๆ

ชุบ Hot-Dip Galvanized ดีกว่าอย่างไร

การป้องกันสนิมที่นิยมใช้กันในงานอุตสาหกรรม

คือ การเคลือบผิว โดยการชุบ Hot-Dip Galvanized เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

เนื่องจากราคาไม่แพง สะดวก อายุการใช้งานนานกว่าทุกชนิดของการเคลือบผิวและเป็นที่ยอมรับในงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้มีแนวโน้มการใช้งานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยวัสดุต่างๆที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของตู้คอนเทนเนอร์ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างหลัก แผ่นฉนวนกันความร้อน หรือแม้แต่วัสดุตกแต่ง ก็ผ่านกระบวนการชุบฮอตดิบกัลวาไนซ์ (Hot-Dip Galvanized) เช่นกัน

 

สี

CHUGOKU MARINE PAINTS

การเลือกสีเป็นองค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งไม่สามารถละเลย เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของวัสดุต่างๆ เราพิจรารณาเลือกใช้สี ชูโกกุ มารีน เพ้นท์  ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีประสบการณ์กว่า 100 ปีในทำการผลิตสำหรับกลุ่มหลักๆ เช่น สีทาเรือ สีสำหรับอุตสาหกรรมหนัก สีทาตู้คอนเทนเนอร์ และสีทาไม้ โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้รับการยอมรับในคุณภาพและบริการภายใต้มาตรฐานเดียวกันกับประเทศญึ่ปุ่น ด้วยความเชี่ยวชาญและความเป็นมืออาชืพในด้านการผลิตและคิดค้นผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยี่ขั้นสูงของสีชูโกกุ จึงได้รับการยอมรับและเป็นที่ไว้วางใจในเรื่องคุณภาพของผลิตภัณฑ์

 

PRINCEPLES OF THE CHUGOKU MARINE PAINTS GROUP

ECOLOGY

ด้วยเทคโนโลยี่ใหม่ๆ อาทิเช่นผลิตภัณฑ์สีกันเพรียงปราศจากดีบุก และสีเคลือบกันสนิมปราศจากสารพิษและกลิ่นรุนแรง

ยูนิกซ์ 25 เอ

สีรองพื้นและทาทับหน้า จำพวก เรซินสังเคราะห์พิเศษ ฟิล์มสีมีคุณสมบัติกันการกัดกร่อนได้ดีและทนทานต่อสภาพอากาศได้ดี เหมาะกับงานซ่อมตู้คอนเทนเนอร์ สามารถใช้งานได้โดยตรงบนผิวโลหะ

ทินเนอร์ : CMP – 11
สีชั้นก่อนทาสีนี้ : อิพิคอน อันเดอร์โค้ท, ราแวกซ์ ไพร์เมอร์, ราแวกซ์ อันเดอร์โค้ท, อื่นๆ

บทความ

พื้น

วีว่า บอร์ด (Viva  Board )

วีว่า บอร์ด  คือ แผ่นไม้อัดซีเมนต์อเนกประสงค์ (Wood Cement Board) ผลิตโดยการนำไม้สกัดย่อย ซีเมนต์ ปอร์ตแลนด์ และสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาผสมกัน ส่วนผสมดังกล่าวจะถูกนำไปโปรยบนแบบเหล็กด้วยกรรมวิธีพิเศษ ผลิตโดยการ นำไม้ปลูกโตเร็วที่ถูกเก็บไว้จนได้อายุมาสกัดย่อยเป็นชิ้นเล็ก ละเอียดผสมกับซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงนำมาขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีพิเศษ โดยให้ส่วนผสมละเอียดอยู่บนผิวหน้า ส่วนผสมหยาบจะอยู่กลางแผ่นและประสานกันให้ความแข็งแรง การขึ้นรูปแบบต่อเนื่องในขั้นตอนเดียวทำให้วีว่า บอร์ด เป็นวัสดุเนื้อเดียวกันทั้งแผ่นปราศจากความเสี่ยงจากการแยกชั้น ส่วนผสมนี้จะถูกนำไปอัดด้วยแรงกดสูงจนได้ความหนาที่ต้องการ ทำให้ซีเมนต์ห่อหุ้มและแทรกตัวในเนื้อไม้และประสานเป็นเนื้อเดียวกัน จึงมีความคงทนและไม่ผุกร่อนหลังจากนำมาบ่มและอบไล่ความชื้น วีว่า บอร์ด จะถูกนำไปตัดขนาด และตรวจสอบคุณภาพทุกแผ่น เพื่อให้แน่ใจว่ามีคุณสมบัติเหนือกว่ามาตรฐาน

วีว่า บอร์ด (Viva Board )

มาตรฐาการผลิตวีว่า บอร์ด (Viva Board )

ผ่านการทดสอบการทนไฟตามมาตรฐาน BS 476 ข้อ 6 และ 7 จัดเป็นวัสดุประเภท O หรือ virtually non-combustible ช่วยเพิ่มความปลอดภัยยามเกิดเพลิงไหม้ และระบบผนังที่สร้างจาก วีว่า บอร์ด ผ่านการทดสอบ ข้อ 22 สำหรับผนังทนไฟ 1 ชั่วโมง และ 2 ชั่วโมง

 

คุณสมบัติของที่น่าสนใจ วีว่า บอร์ด (Viva Board )

คงทนต่อทุกสภาวะอากาศ

วีว่า บอร์ด ทนฝน ทนแดดและความร้อน สามารถใช้งานภายนอกได้นับสิบ ๆ ปี โดยไม่บวม ผุกร่อน หรือย่อยสลาย

ปลอดภัยจากแมลงศัตรูไม้ และไม่เกิดเชื้อรา

มอดปลวกไม่สามารถทำอันตราย วีว่า บอร์ด ได้ เพราะผ่านการอัดด้วยแรงกดสูง ส่วนผสมที่เป็นไม้จึงถูกครอบคลุมและผสมผสานเป็นเนื้อเดียวกับซีเมนต์ นอกจาก นี้เชื้อรายังไม่สามารถเติบโตบนแผ่นวีว่า บอร์ดได้ เนื่องจากมีสภาวะที่เป็นด่าง

ป้องกันไฟ

ผ่านการทดสอบการทนไฟตามมาตรฐาน BS 476 ข้อ 6 และ 7 จัดเป็นวัสดุประเภท O หรือ virtually non-combustible ช่วยเพิ่มความปลอดภัยยามเกิดเพลิงไหม้ และระบบผนังที่สร้างจาก วีว่า บอร์ด ผ่านการทดสอบ ข้อ 22 สำหรับผนังทนไฟ 1 ชั่วโมง และ 2 ชั่วโมง

ป้องกันความร้อน

ด้วยส่วนผสมของไม้ ทำให้ วีว่า บอร์ด มีค่าการนำความร้อน (ค่า K) ต่ำกว่า 0.1 W/m°C ซึ่งต่ำสุดในบรรดาวัสดุแผ่นเรียบที่ใช้งานภายนอกได้ ช่วยให้ อาคารเย็นสบายและช่วยประหยัดพลังงาน

ป้องกันเสียงรบกวน

ความหนาแน่นที่สูงถึง 1300 กก./ลบ.ม. ทำให้ วีว่า บอร์ด สามารถป้องกัน เสียงรบกวนได้เป็นอย่างดี

ทำงานง่าย ติดตั้งรวดเร็ว

สามารถใช้เครื่องมือและวิธีการที่ใช้กับไม้ทั่วไปทำงานกับ วีว่า บอร์ด ไม่ว่าจะ เป็นการเลื่อย ตัด เจาะ ตอกตะปู อีกทั้งการติดตั้งระบบแห้ง สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่เลอะเทอะ

ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม

ไม้ที่นำมาใช้ผลิตเป็นไม้ปลูกโตเร็ว ยังสามารถใช้งานทดแทนไม้ได้เป็นอย่างดี และมีอายุการใช้งานยาวนานกว่ามาก

ความปลอดภัย

ปลอดจากส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นสารใยหิน (Asbestos) หรือกาวยูเรียฟอมัลดีไฮน์ที่พบในวัสดุก่อสร้างอื่น

ประหยัด

นอกจากจะมีราคาไม่แพงแล้ว แผ่นไม้อัดซีเมนต์อเนกประสงค์ วีว่า บอร์ด ยัง ช่วยประหยัดทั้งค่าแรงงานก่อสร้าง และค่าฐานรากอาคาร

มอก. 878- 2537

มั่นใจในคุณภาพสินค้าด้วยมาตรฐาน มอก. จากกระทรวงอุตสาหกรรม

 

ขนาดมาตรฐานของแผ่น วีว่า บอร์ด (Viva Board )

วีว่าบอร์ดมีขนาดความหนาให้เลือกนำไปใช้ตามดังนี้

ความหนา 8 มิล เหมาะสำหรับการกรุผนังภายใน ฝ้าเพดาน แผ่นรองวัสดุปูพื้น หรือว่าตกแต่ง

-ความหนา 10 มิลก็มีลักษณะการใช้งานใกล้เคียงกับ 8 มิลแต่ว่าจะไม่เหมาะกับการทำฝ้าเพดาน เพราะมีน้ำหนักมากกว่า

-ความหนา12 มิลหนาขึ้นมาอีกหน่อย สามารถใช้กรุเป็นผนังภายนอกได้

-ความหนา 16 มิล.  สามารถใช้เป็นแผ่นรองใต้หลังคา หรือปิดผิวหน้าอาคารได้แต่ว่าต้องใช้โครงสร้างเหล็กเพราะ มีน้ำหนักมาก ไม่เหมาะกับโครงสร้างไม้

-ความหนา 20 มิล ใช้เป็นงานพื้นแต่ว่า ก็ต้องงทำโครงพื้นให้ถี่ และแข็งแรงพอ

-ส่วน 26 มิล ก็สามารถใช้เป็นพื้น ได้แข็งแรงมาก แต่ราคาก็จะแพง ถ้าไม่รับน้ำหนัก มากมายก็ใช้แบบ 20มิล

 

การเปรียบเทียบคุณสมบัติของแผ่น วีว่าบอร์ด กับ สมาร์ทบอร์ด

วีวาบอร์ดกับสมาร์ทบอร์ด เป็นวัสดุจำพวกซีเมนต์บอร์ดเหมือนกัน มีลักษณะการใช้งานคล้ายกันแต่ก็ไม่เหมือนกันเลยซะทีเดียว และที่ต่างกันก็คือวัตถุดิบ และ กรรมวิธีในการผลิต วัสดุเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะใช้ในงานตกแต่ง ซึ่งอายุการใช้งานไม่ยืด นักเมื่อเทียบกับวัสดุอื่นๆเช่นผนังก่ออิฐ แผ่นโลหะเป็นต้นแต่ก็ไม่ใช่อายุการใช้งานสั้นมาก ส่วนดีที่สุดของวัสดุเหล่านี้ก็คือ ระยะเวลาการตั้ง และความสะดวกรวดเร็วเพราะเป็นระบบผนังเบา และไม่เปลืองโครงสร้าง

วีว่าบอร์ด เป็นวัสดุก่อสร้าง ในวัสดุจำพวก ผนังเบา     [ Light Weight Wall ] ลักษณะของ วีว่าบอร์ดคือ   เป็นการอัดขี้เลื่อยไม้ แล้วนำไปผสมกับปูนซีเมนต์ปอร์ทแลนด์ และสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาผสมกัน นำไปใส่ในแบบเหล็ก แล้วนำไปขึ้นรูปด้วยแรงกดขนาดสูงให้ได้ความหนาตามต้องการ และกดทิ้งไว้จนกว่าซีเมนต์จะแข็งตัว และนำไปอบลดความชื้น ซึ่งเป็นกรรมวิธีของผู้ผลิต   ชื่อเรียกที่คุ้นเคยของ วีว่าบอร์ดเราเรียกกันว่า  Wood Cement Board และตัดเป็นแผ่นขนาดมาตรฐาน ขนาดประมาณ  1.2 x 2.40 เมตร

สมาร์ทบอร์ด ก็เป็นวัสดุจำพวกผนังเบาเช่นกัน ลักษะของ สมาร์ทบอร์ด ไม่เหมือนกันกับวีว่าบอร์ด สมาร์ทบอร์ด คือ กระเบื้องใยหินที่ตอนนี้กลายมาเป็นไม่มีใยหิน ส่วนผสมของสมาร์ทบอร์ดปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เส้นใยเซลลูโลส ทรายซิลิก้า และน้ำ ผลิตผ่านเครื่องอบไอน้ำแรงดันสูง จนได้สมาร์ทบอร์ด แบบต่างๆ สมาร์ทบอร์ดชื่อที่คุ้นเคยก็คือ Fiber Cement Board ส่วนที่เหมือนกันของสมาทร์ทบอร์ด กับวีว่าบอร์ดก็คือขนาดของแผ่น

คุณสมบัติพิเศษของสมาร์ทบอร์ด

ก็จะมีลักษณะใกล้เคียงกับวีว่าบอร์ด  ก็คือ ทนต่อสภาพอากาศ ทนแดด ทนฝน ทนน้ำ ก็คือสามารถใช้เป็นงานภายนอกได้ ไม่บวมน้ำไม่ บิดตัว ผุกร่อนไม่โก่งตัว ปลวกไม่กิน ป้องกันไฟ ทนต่อการลามไฟ รับแรงกระแทงได้ สามารถดัดงอได้ ภายในรัศมีที่กำหนด ป้องกันความร้อนคือมีค่านำความร้อนต่ำ ป้องกันเสียงรบกวน และที่สำคัญก็คือ การติดตั้งจะรวดเร็วและสะดวก

การใช้งานของสมาร์ทบอร์ด

สมาร์ทบอร์ด จะมีลักษณะแตกต่างจากวีว่าบอร์ดออกไปคือ มีการแยกประเภทการใช้งาน ชัดเจนในผลิตภัณฑ์เลย และจะมีลักษณะผิวที่แตกต่างเช่น มีลายไม้ มีแบบเซาะร่อง แยกประเภทผลิตภัณฑ์ 

Visitors: 53,207